กฎระเบียบด้านสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยสารเคมีสำหรับผลิตภัณฑ์ทุกวันนี้...ทั้งมาก ไม่ว่าจะนับกันตามจำนวนกฎหมายที่ทั่วโลกต่างพากันออกมาบังคับใช้ หรือตามจำนวนสารเคมีที่เกี่ยวข้อง และยาก ทั้งในมุมมองความซับซ้อนของตัวกฎหมายแต่ละฉบับและยิ่งยากเป็นทวีคูณเมื่อต้องเอากฎหมายหลายฉบับมาประมวลพร้อมกัน และจากมุมมองของรูปแบบ/ลักษณะการใช้สารเคมีแต่ละรายการในผลิตภัณฑ์ การจะเริ่มต้นทำความเข้าใจกฎหมายทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับบริษัทจึงไม่ใช่เรื่องง่ายๆ แต่ก็หลีกไม่ได้ที่จะต้องทำ ทั้งเพื่อลดความเสี่ยงต่อองค์กรจากการดำเนินการที่ไม่สอดคล้องกับข้อกำหนด เพื่อลดต้นทุนในการดำเนินการในเรื่องที่ไม่เกี่ยวข้อง และเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินการเพื่อให้องค์กรสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างทันท่วงทีและด้วยความมั่นใจ
งานสัมมนานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อปูพื้นฐานที่สำคัญ เพื่อให้ผู้เข้าร่วมสัมมนามีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับกฎระเบียบฉบับสำคัญๆ ที่อาจเกี่ยวข้อง เพื่อให้สามารถเรียนรู้/รับรู้ข้อกำหนดต่างๆ ได้ง่ายขึ้นในอนาคต งานสัมมนานี้ยังจะชี้ประเด็นสำคัญในกฎระเบียบแต่ละด้าน ที่ผู้ประกอบการในสายโซ่การผลิตควรรู้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กฎระเบียบที่จำเป็นต้องรู้เพื่อสามารถประเมินความสอดคล้องของผลิตภัณฑ์ตามมาตรการที่ลูกค้ากำหนด ทั้งนี้ เพื่อให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาสามารถนำข้อมูล/ความรู้ที่ได้ ไปเป็นพื้นฐานในการประเมินความสอดคล้องตามมาตรฐานสำคัญๆ อาทิ chemSHERPA และใช้ในการวางแผน/วางมาตรการดำเนินการภายในบริษัท/สายโซ่การผลิต ฯลฯ ให้สอดคล้องกับกฎหมายที่จะมีมากขึ้นเรื่อยๆ ได้ต่อไป
chemSHERPA เป็นเครื่องมือสำหรับการจัดการและการสื่อสารข้อมูลสารเคมีในผลิตภัณฑ์ ที่พัฒนาโดยกระทรวง METI ประเทศญี่ปุ่น chemSHERPA เป็นระบบที่รวม JAMP และ JGPSSI* ไว้ในระบบเดียวเพื่อให้กลไกการสื่อสารข้อมูลในสายโซ่การผลิตมีเอกภาพ ธุรกิจชั้นนำของประเทศญี่ปุ่นต่างหันมาใช้ chemSHERPA ในการบริหารจัดการและสื่อสารข้อมูลสารเคมีในผลิตภัณฑ์ในสายโซ่การผลิต (ดู List รายชื่อ)
งานฝึกอบรมนี้ เป็นการฝึกอบรมเชิงปฎิบัติการ จัดขึ้นสำหรับผู้ที่เป็นผู้กรอกข้อมูลและผู้ดูแลความถูกต้องของข้อมูลสารเคมีในผลิตภัณฑ์ รวมถึง ผู้ที่ทำหน้าที่สื่อสารข้อมูลสารเคมีและความสอดคล้องของสินค้า ระหว่างลูกค้าและ Suppliers ในสายโซ่การผลิต
(มีการฝึกปฏิบัติจริง โปรดนำเครื่องคอมพิวเตอร์โน๊ตบุค (ระบบปฏิบัติการ windows) มาด้วย)
chemSHERPA เป็นเครื่องมือสำหรับการจัดการและการสื่อสารข้อมูลสารเคมีในผลิตภัณฑ์ ที่พัฒนาโดยกระทรวง METI ประเทศญี่ปุ่น chemSHERPA เป็นระบบที่รวม JAMP และ JGPSSI* ไว้ในระบบเดียวเพื่อให้กลไกการสื่อสารข้อมูลในสายโซ่การผลิตมีเอกภาพ ธุรกิจชั้นนำของประเทศญี่ปุ่นต่างหันมาใช้ chemSHERPA ในการบริหารจัดการและสื่อสารข้อมูลสารเคมีในผลิตภัณฑ์ในสายโซ่การผลิต (ดู List รายชื่อ)
งานฝึกอบรมนี้ เป็นการฝึกอบรมเชิงปฎิบัติการ จัดขึ้นสำหรับผู้ที่เป็นผู้กรอกข้อมูลและผู้ดูแลความถูกต้องของข้อมูลสารเคมีในผลิตภัณฑ์ รวมถึง ผู้ที่ทำหน้าที่สื่อสารข้อมูลสารเคมีและความสอดคล้องของสินค้า ระหว่างลูกค้าและ Suppliers ในสายโซ่การผลิต
(มีการฝึกปฏิบัติจริง โปรดนำเครื่องคอมพิวเตอร์โน๊ตบุค (ระบบปฏิบัติการ windows) มาด้วย)
chemSHERPA เป็นเครื่องมือสำหรับการจัดการและการสื่อสารข้อมูลสารเคมีในผลิตภัณฑ์ ที่พัฒนาโดยกระทรวง METI ประเทศญี่ปุ่น chemSHERPA เป็นระบบที่รวม JAMP และ JGPSSI* ไว้ในระบบเดียวเพื่อให้กลไกการสื่อสารข้อมูลในสายโซ่การผลิตมีเอกภาพ ธุรกิจชั้นนำของประเทศญี่ปุ่นต่างหันมาใช้ chemSHERPA ในการบริหารจัดการและสื่อสารข้อมูลสารเคมีในผลิตภัณฑ์ในสายโซ่การผลิต (ดู List รายชื่อ)
งานฝึกอบรมนี้ เป็นการฝึกอบรมเชิงปฎิบัติการ จัดขึ้นสำหรับผู้ที่เป็นผู้กรอกข้อมูลและผู้ดูแลความถูกต้องของข้อมูลสารเคมีในผลิตภัณฑ์ รวมถึง ผู้ที่ทำหน้าที่สื่อสารข้อมูลสารเคมีและความสอดคล้องของสินค้า ระหว่างลูกค้าและ Suppliers ในสายโซ่การผลิต
(มีการฝึกปฏิบัติจริง โปรดนำเครื่องคอมพิวเตอร์โน๊ตบุค (ระบบปฏิบัติการ windows) มาด้วย)
chemSHERPA เป็นเครื่องมือสำหรับการจัดการและการสื่อสารข้อมูลสารเคมีในผลิตภัณฑ์ ที่พัฒนาโดยกระทรวง METI ประเทศญี่ปุ่น chemSHERPA เป็นระบบที่รวม JAMP* และ JGPSSI* ไว้ในระบบเดียวเพื่อให้กลไกการสื่อสารข้อมูลในสายโซ่การผลิตมีเอกภาพ ธุรกิจชั้นนำของประเทศญี่ปุ่นต่างหันมาใช้ chemSHERPA ในการบริหารจัดการและสื่อสารข้อมูลสารเคมีในผลิตภัณฑ์ในสายโซ่การผลิต (ดู List รายชื่อ)
งานสัมมนานี้จัดขึ้นสำหรับผู้บริหารองค์กร และ/หรือ ผู้จัดการแผนกที่ทำหน้าที่บริหารจัดการข้อมูลสารเคมีในผลิตภัณฑ์ ดูแลความสอดคล้องของสินค้าต่อกฎระเบียบในตลาดโลก/ข้อกำหนดของคู่ค้า ฯลฯ เพื่อให้ข้อมูล/ความรู้ความเข้าใจในความสำคัญของการบริหารจัดการข้อมูลสารเคมีในผลิตภัณฑ์ให้มีความถูกต้องและมีความเชื่อถือได้สูง รวมถึงกลไกภายใต้ chemSHERPA ที่ได้พัฒนาขึ้นเพื่อให้สามารถสื่อสารข้อมูลระหว่างคู่ค้าในสายโซ่การผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ
กิจกรรมนี้จัดขึ้นสำหรับผู้ที่เคยผ่านการฝึกอบรม JAMP หรือ chemSHERPA ระดับ Trainer โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ
หมายเหตุ: สำหรับสมาชิก chemSHERPA Trainer เท่านั้น
Trainer ที่ต้องการสมัคร กรุณา Login ก่อน
อนุสัญญาสตอกโฮล์ม ว่าด้วยการจัดการสารมลพิษที่ตกค้างยาวนาน (Persistent Organic Pollutants: POPs) เป็นกฎหมายระหว่างประเทศที่มีผลบังคับใช้มากว่า 10 ปีแล้ว แต่ไม่ค่อยเป็นที่รู้จักแพร่หลายเท่า RoHS/REACH จนอาจทำให้เข้าใจผิดว่ากฎหมายนี้ไม่สำคัญ และ/หรือ ไม่เกี่ยวข้องกับการทำธุรกิจของบริษัท ทั้งที่กฎหมายฉบับนี้มีผลบังคับใช้ในวงกว้างและลึกกว่า RoHS/REACH มาก กฎหมายฉบับนี้จำกัดทั้งการผลิต การจำหน่าย การใช้ทั้งในรูปสารเคมี วัสดุ หรือผลิตภัณฑ์ที่มีสาร POPs ที่มีรายชื่อในบัญชีสารต้องห้ามภายใต้อนุสัญญาฯ (SC POPs) กฏหมายนี้ยังครอบคลุมการจัดการสาร POPs ที่ยังอาจเหลือคงค้างในสตอก อย่างถูกหลักวิชาการ (ใช้เทคโนโลยีที่ดีที่สุด)
งานสัมมนานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ อนุสัญญาสตอกโฮล์ม และกลไกภายใต้อนุสัญญาฯ ที่อาจส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการตลอดสายโซ่การผลิต รวมถึงการให้ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสาร POPs (อุตสาหกรรม) แต่ละรายการ เพื่อให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาได้รู้จักสารเหล่านี้ เพื่อสามารถนำข้อมูล/ความรู้ที่ได้ ไปเป็นพื้นฐานในการวางแผน/วางมาตรการดำเนินการภายในบริษัท/สายโซ่การผลิต ฯลฯ ให้สอดคล้องกับกฎหมายต่อไป
chemSHERPA เป็นเครื่องมือสำหรับการจัดการและการสื่อสารข้อมูลสารเคมีในผลิตภัณฑ์ ที่พัฒนาโดยกระทรวง METI ประเทศญี่ปุ่น chemSHERPA เป็นระบบที่รวม JAMP* และ JGPSSI* ไว้ในระบบเดียวเพื่อให้กลไกการสื่อสารข้อมูลในสายโซ่การผลิตมีเอกภาพ ธุรกิจชั้นนำของประเทศญี่ปุ่นต่างหันมาใช้ chemSHERPA ในการบริหารจัดการและสื่อสารข้อมูลสารเคมีในผลิตภัณฑ์ในสายโซ่การผลิต (ดู List รายชื่อ)
งานสัมมนานี้จัดขึ้นสำหรับผู้บริหารองค์กร และ/หรือ ผู้จัดการแผนกที่ทำหน้าที่บริหารจัดการข้อมูลสารเคมีในผลิตภัณฑ์ ดูแลความสอดคล้องของสินค้าต่อกฎระเบียบในตลาดโลก/ข้อกำหนดของคู่ค้า ฯลฯ เพื่อให้ข้อมูล/ความรู้ความเข้าใจในความสำคัญของการบริหารจัดการข้อมูลสารเคมีในผลิตภัณฑ์ให้มีความถูกต้องและมีความเชื่อถือได้สูง รวมถึงกลไกภายใต้ chemSHERPA ที่ได้พัฒนาขึ้นเพื่อให้สามารถสื่อสารข้อมูลระหว่างคู่ค้าในสายโซ่การผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ