การบังคับใช้กฎหมาย

RoHS, ELV, REACH ฯลฯ ไม่มีข้อบังคับให้ต้องทดสอบเพื่อยืนยันการปลอดสารต้องห้าม หรือยืนยันส่วนผสมของสารควบคุมในผลิตภัณฑ์ ข้อกำหนดเรื่องการส่งผลทดสอบ ("ใบเซอร์ หรือ "ผล ICP") เป็นเรื่องระหว่างคู่ค้า (ข้อกำหนดของลูกค้า) เพื่อให้มั่นใจว่าสินค้า (วัตถุดิบ ชิ้นส่วน ฯลฯ) ที่รับมาจาก Supplier จะยังคงสอดคล้องปลอดสารต้องห้ามตามที่กฏหมายกำหนด

แต่ ... การที่กฏหมายไม่ได้กำหนดให้ทดสอบ ไม่ได้หมายความว่าไม่ต้องทดสอบ

และ ... การมีผลทดสอบ (หรือ "ใบเซอร์") ไม่ได้หมายความว่าสินค้าจะสอดคล้อง

กฎหมาย RoHS (และ ELV) กำหนดให้ผู้ผลิต ต้องเป็นผู้รับผิดชอบ ต้องไปดูแล Supplier, กระบวนการผลิต การออกแบบผลิตภัณฑ์ฯลฯ เพื่อให้มั่นใจว่าสินค้าจะสอดคล้อง และจะคงความสอดคล้องได้อย่างต่อเนื่อง (ไม่เฉพาะการผลิตเพื่อทดสอบเครื่องแรก) ไม่ว่าจะมีอะไรเปลี่ยนแปลง (รวมทั้งเมื่อกฏหมายเปลี่ยน) เมื่อไรก็ตามที่ผู้ผลิตเริ่มไม่มั่นใจว่าสินค้าของตนจะสอดคล้องอยู่หรือไม่ ผู้ผลิตมีหน้าที่ต้องระงับการวางตลาด ตรวจสอบความสอดคล้อง รวมถึงแจ้งเจ้าหน้าที่ให้ทราบอย่างทันท่วงที

การใช้ระบบประกันคุณภาพ ก็หมายความว่า จะมีโอกาสเกิดข้อผิดพลาดได้ แต่เมื่อเกิดเหตุที่ไม่พึงประสงค์เกิดขึ้น ผู้ผลิตมีกลไกในการจัดการกับข้อผิดพลาด (รวมถึงการ Recall สินค้า, การแก้ไขให้ถูกต้อง ฯลฯ) และมีกระบวนการจัดการเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดข้อผิดพลาดซ้ำอีก - "ใบเซอร์" ที่ดีสามารถเป็นส่วนหนึ่งของระบบประกันคุณภาพได้ แต่ใบเซอร์อย่างเดียว ไม่สามารถใช้เป็นหลักประกันความสอดคล้องได้

ตอบ:

คำว่า “นำเข้าตลาด” ในมาตรา 4(1) ของระเบียบ RoHS หมายถึงกิจกรรมแรกของการทำให้ผลิตภัณฑ์มีเป็นครั้งแรก (making a product available for the first time) ในตลาดสหภาพ ซึ่งจะเกิดขึ้นเมื่อผลิตภัณฑ์นั้นถูกส่งจากผู้ผลิตไปยังผู้จัดจำหน่าย (distributor) หรือผู้บริโภคสุดท้ายหรือผู้ใช้ในตลาดสหภาพ

“การทำให้ผลิตภัณฑ์มีเป็นครั้งแรก (making a product available for the first time)” หมายถึงการนำแต่ละชิ้นส่วนของเครื่องใช้เข้าตลาดภายหลังวันที่ที่จำกัดการใช้สาร (นั่นคือ 1 กรกฎาคม 2549) และไม่ใช่การเริ่มออกตัวผลิตภัณฑ์ใหม่หรือสายการผลิตใหม่ ยิ่งไปกว่านั้น แนวคิดเกี่ยวกับการนำเข้าสู่ตลาดหมายถึงผลิตภัณฑ์แต่ละตัว ไม่ใช่ประเภทของผลิตภัณฑ์ ไม่ว่าเครื่องใช้นั้นจะถูกผลิตแบบเป็นหน่วยเดียวหรือเป็นชุด

การจะประเมินว่า ผลิตภัณฑ์ “ถูกนำเข้าตลาด” แล้วหรือยัง จำเป็นต้องประเมินเป็นกรณีๆ ไป โดยจะดูว่ากิจกรรมที่ดำเนินการนั้นนำไปสู่ข้อเท็จจริงที่ว่าผลิตภัณฑ์นั้นได้ถูกทำให้มีในตลาด อียู เป็นครั้งแรกหรือไม่

แนวทางการดำเนินการตามระเบียบที่พัฒนาบนพื้นฐานของ New Approach และ Global Approach ได้อธิบายไว้ถึงแนวคิดของ “การนำเข้าวางตลาด” และให้แนวทางในการตีความว่าดังนี้

“การนำเข้าวางตลาด เป็นการกระทำแรกที่ทำให้มีผลิตภัณฑ์ในตลาดสหภาพเป็นครั้งแรก โดยมองที่การจัดจำหน่ายหรือการใช้งานในสหภาพ การทำให้มีผลิตภัณฑ์สามารถเป็นได้ทั้งสำหรับให้ซื้อและให้ฟรี … จะถือว่าสินค้าถูกนำเข้าวางในตลาดสหภาพเมื่อถูกทำให้มีสินค้าเป็นครั้งแรก ซึ่งพิจารณาได้ว่าการกระทำนี้เกิดขึ้นเมื่อ สินค้าถูกถ่ายโอนจากขั้นตอนการผลิตด้วยมีเจตนาที่จะนำไปจัดจำหน่ายหรือใช้ในตลาดสหภาพ การถ่ายโอนสินค้าเกิดขึ้นได้ทั้งจากผู้ผลิตหรือจากตัวแทนผู้มีอำนาจในสหภาพ ไปยังผู้นำเข้าที่มีที่ตั้งในสหภาพหรือไปยังบุคคลที่เป็นผู้รับผิดชอบในการกระจายสินค้าในตลาดสหภาพ การถ่ายโอนสินค้าอาจเกิดจากผู้ผลิตหรือจากตัวแทนผู้มีอำนาจในสหภาพไปยังผู้บริโภคหรือผู้ใช้โดยตรงก็ได้ จะถือว่าสินค้าได้ถูกถ่ายโอนแล้วเมื่อสินค้าถูกเปลี่ยนมือทางกายภาพ หรือมีการถ่ายโอนกรรมสิทธิ์ การถ่ายโอนนี้เป็นได้ทั้งด้วยการจ่ายเงินหรือให้ฟรี และการถ่ายโอนบนพื้นฐานของเครื่องมือทางกฎหมายใดก็ได้ ดังนั้น การถ่ายโอนสินค้าเกิดขึ้นเมื่อ ยกตัวอย่างเช่น มีการขาย ให้ยืม ให้เช่า ให้เช่าซื้อ หรือให้เป็นของขวัญ”

นอกจากนี้ เมื่อนำผลิตภัณฑ์เข้าสู่ตลาด สินค้ายังจะต้องเป็นไปตามข้อกำหนดของระเบียบแนวใหม่ (New Approach Directive) และกฎหมายสหภาพอื่นๆ ด้วย ดังนั้นผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ผลิตในสหภาพและทุกผลิตภัณฑ์ที่นำเข้าจากประเทศที่สาม – ไม่ว่าจะใหม่หรือใช้แล้ว – จะต้องสอดคล้องกับเงื่อนไขของระเบียบต่างๆ ที่มีอยู่ เมื่อนำผลิตภัณฑ์ให้มีในตลาดสหภาพเป็นครั้งแรก

การนำเข้าตลาด เป็นกิจกรรมแรกที่ทำให้มีผลิตภัณฑ์ในตลาดสหภาพเป็นครั้งแรก เพื่อจะให้มีการจัดจำหน่ายหรือมีใช้ในสหภาพ ดังนั้น จึงไม่นับว่าสินค้าได้ถูกนำเข้าตลาดก่อนที่สินค้าเหล่านี้จะผ่านด่านศุลกากรของสหภาพ

กิจกรรมต่อไปนี้ ไม่ถือว่าเป็นการนำเข้าตลาด

·     การถ่ายโอนจากผู้ผลิตหนึ่งไปยังอีกผู้ผลิตหนึ่งเพื่อดำเนินการต่อ (เช่น นำไปประกอบ บรรจุหีบห่อ นำเข้ากระบวนการ หรือ ติดป้าย เป็นต้น)

·     ยังไม่ได้รับใบอนุญาตจากศุลกากรให้หมุนเวียนได้โดยเสรี หรือถูกนำเข้ากระบวนการทางศุลกากรอื่น (เช่น ขนผ่าน (Transit) นำเข้าโกดัง หรือการนำเข้าชั่วคราว) หรืออยู่ใน Free zone

·     อยู่ในสต็อกของผู้ผลิต หรือตัวแทนผู้มีอำนาจที่มีที่ตั้งอยู่ในสหภาพ โดยที่ยังไม่ได้ทำให้มีผลิตภัณฑ์นี้ในตลาด

เมื่อผลิตภัณฑ์ถูกเก็บอยู่ในโกดังของผู้ผลิต ยังไม่ถือว่าเปิดให้มีผลิตภัณฑ์นี้ในตลาด ดังนั้นการถ่ายโอนที่นำสินค้าจากสถานที่ผลิต ไม่ว่าจะอยู่ในหรือนอกสหภาพ ไปยังโกดังของผู้ผลิต ไม่ถือว่าเป็นการทำให้มีผลิตภัณฑ์นี้ในตลาด

การนำสินค้าเข้าตลาด ถือว่าสินค้าถูกถ่ายโอนจากขั้นตอนการผลิตไปยังขั้นตอนการจัดจำหน่าย ซึ่งเส้นทางการจัดจำหน่ายนี้จะเป็นบริษัทเครือข่ายทางการค้าของผู้ผลิตหรือตัวแทนผู้มีอำนาจเองก็ได้

- ThaiRoHS -  

Latest Forum

  • ไม่มีกระทู้แสดง

Who's Online

มี 141 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์

© 2023 ThaiRoHS.org. All Rights Reserved.