ขอบเขตของกฎหมาย RoHS?

ตอบ:

- สำหรับ RoHS V2 - ถ้าสินค้านั้นใช้ไฟฟ้า (แรงต่ำ) ในการทำงาน ถ้าไม่มีระบุว่านั้นๆ ไม่อยู่ใต้ RoHS (ใน RoHS V2 มีมาตราที่ระบุชัดเจนว่าสินค้าใดไม่เกี่ยวข้อง) ให้ถือว่าสินค้านั้นๆ อยู่ใต้ RoHS

- (อดีต) อาจกล่าวสั้นๆ ได้ว่า สินค้าเกือบทุกชนิดที่ต้องใช้ไฟฟ้า ไม่ว่าจะเป็นแบบเสียบปลั๊กหรือใช้แบตเตอรี่หรือใช้ไฟที่ผลิตขึ้นเอง (จากเซลล์ไฟฟ้าแสงอาทิตย์ หรือจากการเคลื่อนไหว) เว้นแต่จะเป็นเครื่องไฟฟ้าแรงสูง (เกิน 1,000 Vac. หรือ 1,500Vdc.) หรือเครื่องจักรขนาดใหญ่ที่ติดกับอาคาร 

- สินค้าที่อยู่ภายใต้ RoHS แบ่งเป็นกลุ่มๆ ได้ดังนี้:

  • Category 1: เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน ขนาดใหญ่ (Large household appliances) เช่น ตู้เย็น, ตู้แช่, เครื่องทำความเย็น, เครื่องซักผ้า, เครื่องอบผ้า, เครื่องล้างจาน, เครื่องทำอาหาร, เตาไฟฟ้า, แผ่นทำความร้อนไฟฟ้า, เตาไมโครเวฟ, เครื่องให้ความร้อนด้วยไฟฟ้า, เครื่องกระจายความร้อน, เครื่องใช้ขนาดใหญ่อื่น ที่ใช้สำหรับให้ความร้อนห้อง เตียง เฟอร์นิเจอร์ที่นั่ง, พัดลมไฟฟ้า, เครื่องปรับอากาศ, พัดลม ระบบระบายอากาศ, และเครื่องปรับอากาศอื่นๆ เป็นต้น
  • Category 2: เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน ขนาดเล็ก(Large household appliances) เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน ขนาดเล็ก, เครื่องดูดฝุ่น, เครื่องกวาดพรม, เครื่องใช้สำหรับทำความสะอาดอื่นๆ,
    เครื่องใช้สำหรับ เย็บผ้า ถัก ทอ และกระบวนการอื่นที่เกี่ยวกับผ้า, เตารีด และเครื่องใช้อื่นที่ใช้สำหรับ รีด อัดกลีบ หรือ การดูแลเสื้อผ้าอื่นๆ, เครื่องปิ้งขนมปัง, เครื่องทอด, เครื่องบดเม็ดกาแฟ เครื่องต้มกาแฟ, และเครื่องมือสำหรับเปิดหรือผนึก (Seal) ภาชนะหรือหีบห่อ, มีดไฟฟ้า, เครื่องใช้สำหรับ ตัดผม ทำให้ผมแห้ง แปรงสีฟันไฟฟ้า เครื่องโกนหนวด เครื่องนวด และเครื่องใช้เพื่อถนอมร่างกาย (body care appliance), นาฬิกา นาฬิกาข้อมือ และอุปกรณ์สำหรับ วัด บ่งชี้ และลงเวลา, เครื่องชั่งน้ำหนัก เป็นต้น
  • Category 3: อุปกรณ์ IT และการสื่อสาร(IT and Telecommunications equipment ) เช่น เมนเฟรม, มินิคอมพิวเตอร์, เครื่องพิมพ์, เครื่องประมวลผลส่วนบุคคล:
    เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคล (รวมถึง ซีพียู เมาส์ จอภาพ และแป้นพิมพ์), เครื่องแลปทอป (รวมถึง ซีพียู เมาส์ จอภาพ และแป้นพิมพ์), เครื่อง Notebook, เครื่อง Notepad, เครื่องพิมพ์, เครื่องถ่ายสำเนาเอกสาร, เครื่องพิมพ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์, เครื่องคิดเลขแบบกระเป๋าและแบบตั้งโต๊ะ, และ สินค้าและอุปกรณ์อื่นที่ใช้สำหรับ เก็บสะสม เก็บรักษา ประมวลผล แสดงผล หรือการสื่อสารข้อมูล โดยอิเล็กทรอนิกส์, User terminals and systems, เครื่องส่งโทรสาร, เครื่อง เทเล็กซ์, โทรศัพท์, โทรศัพท์จ่ายเงิน (pay phone), โทรศัพท์ไร้สาย, โทรศัพท์เคลื่อนที่, เครื่องตอบรับโทรศัพท์อัตโนมัติ, และสินค้าหรืออุปกรณ์อื่นที่ใช้สำหรับส่ง เสียง ภาพ หรือข้อมูลอื่นโดยการสื่อสารทางไกล เป็นต้น
  • Category 4: เครื่องอุปโภค (Consumer equipment) เช่น เครื่องรับวิทยุ, เครื่องรับโทรทัศน์, กล้องถ่ายวีดีทัศน์, เครื่องอัดวีดีทัศน์, เครื่องอัดเสียง, เครื่องขยายเสียง, เครื่องเล่นดนตรี, และสินค้าหรืออุปกรณ์อื่นที่ใช้สำหรับ บันทึก ผลิตเสียงหรือภาพใหม่ รวมถึง เทคโนโลยีสัญญาณและ เทคโนโลยีอื่น ที่ใช้สำหรับ กระจายเสียและภาพ ที่ไม่ใช้การสื่อสารทางไกล เป็นต้น
  • Category 5: เครื่องให้แสงสว่าง (Lighting equipment) เช่น โคมสำหรับหลอดฟลูออเรสเซนต์ ยกเว้นโคมสำหรับใช้ในบ้าน, หลอดฟลูออเรสเซนต์แบบตรง, หลอด Compact fluorescent lamp
    High intensity discharge lamps, รวมถึงหลอดความดันโซเดียม และหลอดเมทัลฮาไลด์, หลอดไอโซเดียมความดันต่ำ, หลอดและอุปกรณ์อื่นที่ใช้สำหรับกระจายและควบคุมแสง ยกเว้นหลอดไส้ เป็นต้น
  • Category 6: เครื่องมือไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (ยกเว้น เครื่องมืออุตสาหกรรมขนาดใหญ่ชนิดอยู่กับที่) (Electricaland electronic tools) เช่น สว่าน, เลื่อย, จักร, เครื่องสำหรับทำการ กลึง กัด ขัดกระดาษทราย เจียระไน เลื่อย ตัด เฉือน เจาะสว่าน เจาะรู พันช์ ม้วน, พับ หรือเครื่องที่คล้ายคลึงกันสำหรับ ไม้ โลหะ และวัสดุอื่น, เครื่องสำหรับ ริเว็ท ยิงตะปู หรือไขสกรู หรือเครื่องถอนริเว็ท ตะปู สกรู หรือการใช้งานอื่นที่คล้ายกัน, เครื่องสำหรับ งานเชื่อม บัดกรี หรือการใช้งานที่คล้ายกัน, เครื่องมือสำหรับ Spray spread disperse หรือการจัดการกับของสารที่เป็นเหลวหรือแก๊ส โดยวิธีอื่น, เครื่องตัดหญ้า และเครื่องใช้สำหรับสนาม เป็นต้น
  • Category 7: ของเล่น อุปกรณ์เพื่อการบันเทิง แลุะอุปกรณ์กีฬา (Toys leisure and sports equipment) เช่น รถไฟฟ้า หรือชุดรถแข่ง, เครื่องเล่นเกมวีดีโอแบบมือถือ, วีดีโอเกม, คอมพิวเตอร์สำหรับถีบจักรยาน ดำน้ำ วิ่ง หรือ พายเรือ เป็นต้น, เครื่องอุปกรณ์กีฬาที่มีชิ้นส่วนไฟฟ้าหรืออิเล็กทรอนิกส์, เครื่อง Slot machine แบบใช้เหรียญ เป็นต้น
  • Category 10: เครื่องขายของอัตโนมัติ (Automatic dispensers) 
  • Category 11: เครื่องใช้อื่นๆ ที่ไม่อยู่ในกลุ่ม 1-10 ที่กล่าวมา

หากในตัวสินค้ามีแบตเตอรี่อยู่ จะเข้าข่ายระเบียบไหน WEEE/RoHS/Battery?

ตอบ:

  • แเบตเตอรี่ เมื่อจำหน่ายเดี่ยวๆ (ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของผลิตภัณฑ์) ไม่ถูกควบคุมโดยระเบียบ RoHS แต่ถูกควบคุมโดยระเบียบ แบตเตอรี่ (ซึ่งมีระดับการควบคุมที่เข้มงวดกว่า) 
  • ระเบียบ แบตเตอรี่ จะแตกต่างจากระเบียบ RoHS อีกด้าน ที่ความรับผิดชอบในการจัดการเมื่อสินค้าหมดอายุ (เมื่อผู้ใช้นำมาทิ้ง) ซึ่งกฎหมายของแต่ละประเทศจะมีความเข้มงวดแตกต่างกัน กรณีนี้ อาจต้องตรวจสอบกฎหมายเป็นรายประเทศไป
  • เมื่อผู้ผลิตได้นำแบตเตอรี่ใส่ในตัวสินค้า และสินค้าที่มีแบตเตอรี่อยู่ในตัวนั้น ถูกนำเข้าตลาดอียู แบตเตอรี่นั้น ก็ไม่อยู่ในข่ายที่จะถูกควบคุมโดย RoHS เช่นกัน แต่จะถูกควบคุมโดยระเบียบ แบตเตอรี่ แทน
  • อียูถือว่า ผู้ผลิตสินค้าที่มีแบตเตอรี่ติดมาในขณะที่นำเข้าตลาด เป็น "ผู้ผลิต" ตามความหมายของระเบียบแบตเตอรี่ด้วย
  • หากผู้ใช้นำสินค้าที่หมดอายุแล้วมาทิ้ง โดยในซากสินค้านั้นมีแบตเตอรี่อยู่ด้วย ซากสินค้านั้นจะต้องถูกเก็บรวบรวมโดย WEEE (ผู้ผลิตเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย) แต่หลังจากการเก็บในขั้นตอนการถอดประกอบ แบตเตอรี่ จะถูกถอดออกและนำไปกำจัดตามระเบียบ แบตเตอรี่ และจะถูกนับรวมในเป้าหมายการเก็บของระเบียบ แบตเตอรี่ (ไม่นับเข้าเป็น "ผลงาน" ของระเบียบ WEEE แม้ว่า WEEE จะเป็นคนเก็บซากนี้กลับมาก็ตาม)

-ThaiRoHS- 

วิทยุติดรถยนต์ หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าชนิดอื่นเช่นเครื่องเล่นซีดี ระบบนำทาง ที่สามารถซื้อได้ตามท้องตลาดและเจ้าของรถนำไปติดตั้งเพื่อใช้ในรถยนต์เองภายหลัง ถือว่าเข้าข่าย RoHS หรือ ELV?

ตอบ:

- มาตรา 2 ข้อ 2 ระบุ “This Directive shall apply without prejudice to Community legislation on safety and health requirements and specific Community waste management legislation” และเอกสาร FAQ ของอียูฉบับสิงหาคม 2549 (หัวข้อ 1.2 ข้อ 4) ระบุ วิทยุติดรถยนต์ไม่อยู่ในขอบเขตของ RoHS

ดังนั้น ถ้าเครื่องใช้นั้นไม่ได้ถูกออกแบบมาสำหรับใช้ในยานยนต์โดยเฉพาะ เครื่องใช้นั้นจะอยู่ภายใต้ระเบียบ RoHS แต่ถ้าเครื่องใช้นั้นถูกออกแบบมาเพื่อใช้ในยานยนต์เป็นหลัก (อาทิ วิทยุติดรถยนต์) เครื่องใช้นั้นจะอยู่ภายใต้ระเบียบ ELV

-ThaiRoHS- 

ดูง่ายๆ ว่ามีกระแสไฟฟ้า/ สัญญาทางไฟฟ้า ไหลผ่านอุปกรณ์/ชิ้นส่วนนั้นๆ หรือไม่

  • กรณีหมึกพิมพ์ ถ้าเป็นตัวน้ำหมึกหรือผงหมึกที่ขายต่างหาก ไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกับการไหลของไฟฟ้า ก็ไม่อยู่ภายใต้ RoHS 
  • กรณีตลับหมึก ซึ่งมีหน้าสัมผัส มีวงจรไฟฟ้า ไว้สำหรับให้เครื่องพิมพ์ควบคุม - อยู่ใต้ RoHS
  • กรณีวัสดุสิ้นเปลืองอื่น เช่น 
  • ใบเลื่อยจิ๊กซอ ดอกสว่าน กระดาษทรายขัด ผ้าขัด ผงซักฟอก (ที่แถมมาในเครื่องซักผ้า) ฯลฯ ก็เช่นเดียวกัน หาไม่มี "ไฟฟ้า" เข้ามาเกี่ยวข้อง ก็จะอยู่นอกขอบเขตของ RoHS
  • RFID ถือเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าตามคำจำกัดความของเครื่องใช้ไฟฟ้าตามระเบียบ WEEE และ RoHS และจัดอยู่ในกลุ่มที่ 3 “IT และอุปกรณ์สื่อสาร” ดังนั้น RFID จึงอยู่ในขอบเขตของ RoHS
  • RFID จะอยู่ใน WEEE หรือไม่ก็ได้ขึ้นกับการใช้งาน RFID ที่ติดบนหีบห่อหรือบรรจุภัณฑ์ ไม่อยู่ในขอบเขตของ WEEE แต่หากผู้ผลิตนำ RFID ไปติดบนเครื่องใช้ไฟฟ้า จะถือว่า RFID นั้นอยู่ในขอบเขตของ WEEE
  • คณะกรรมาธิการยุโรปได้ให้คำตอบเกี่ยวกับรายการนี้ว่า "สายเคเบิล ไม่ว่าจะติดอยู่กับผลิตภัณฑ์ หรือขายแยกต่างหาก" อยู่ภายใต้ขอบเขตของ RoHS 
  • RoHS เวอร์ชั่น 2 ระบุอย่างชัดเจนว่า ครอบคลุมสายเคเบิล ด้วย ไม่ว่าจะติดกับผลิตภัณฑ์ หรือที่ซื้อเป็นม้วนเพื่อนำไปติดตั้งในอาคาร ฯลฯ
  • บรรจุภัณฑ์ที่ผู้ใช้ทิ้งหลังซื้อสินค้าและแกะบรรจุภัณฑ์นั้นออกเพื่อนำสินค้าออกมาใช้ ไม่เป็นส่วนหนึ่งของ EEE จึงไม่อยู่ภายใต้ RoHS
  • เช่นเดียวกันกับ Instruction Manual ซึ่งไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของเครื่องใช้ไฟฟ้า ก็ไม่อยู่ภายใต้ RoHS
    (เครื่องใช้สามารถทำงานตามหน้าที่ที่ออกแบบมาได้ โดยไม่มี Manual) 
  • แต่ถ้าบรรจุภัณฑ์ถูกออกแบบให้ทำหน้าที่อื่นได้ด้วย - เช่นกล่องเครื่องพิมพ์ เอามาพลิกเป็นที่วางเครื่องพิมพ์ได้ จะถือว่าบรรจุภัณฑ์นี้ เป็นผลิตภัณฑ์ด้วย (ต้องสอดคล้องกับ RoHS)

-ThaiRoHS- 

Consummable เป็นวัสดุสิ้นเปลือง เช่นหมึกพิมพ์ ใบเลื่อย ดอกสว่าน ใบมีด กระดาษทราย กระดาษกรองกาแฟในเครื่องต้มกาแฟ ไส้กรองอากาศ (ดูง่ายๆ คือชิ้นส่วน/วัสดุ ที่ตามปกติ ผู้ใช้มักต้องไปซื้อมาเปลี่ยน ในช่วงการใช้งานตามปกติของเครื่องใช้นั้นๆ) ทั้งนี้ ไม่รวมหลอดไฟฟ้าซึ่งถูกระบุไว้ใน RoHS อย่างชัดเจน และแบตเตอรี่ ซึ่งอยู่ใต้ระเบียบแบตเตอรี่

- Accessories คือสินค้าที่ขายแยกต่างหาก ที่มีหน้าที่หรือใช้ร่วมกับผลิตภัณฑ์อื่น

  • Accessories ที่มีหน้าที่การทำงานหรือมี "Function" การใช้งาน อยู่ใต้การควบคุมของ RoHS
  • ตัวอย่าง Accessories เช่น Headphone, PCMCIA การ์ด, คีย์บอร์ด เม้าส์ เครื่องเล่นเกมคอมพิวเตอร์ สารต่อพ่วง ลำโพง เป็นต้น

-ThaiRoHS- 

คำตอบ (ใหม่) สำหรับ RoHS V2

เครื่องชั่งน้ำหนัก เข้าข่ายสินค้ากลุ่ม 9 ที่เคยได้รับการยกเว้น แต่ข้อยกเว้นหมดอายุไปแล้ว ถึงวันนี้ สินค้ากลุ่มเครื่องมือวัดและควบคุมทั้งหมด ต้องสอดคล้องกับ RoHS V2

อย่างไรก็ดี สินค้ากลุ่มนี้ มีข้อยกเว้นเฉพาะด้าน ในการใช้สารต้องห้ามในงานบางงาน -ตรวจสอบข้อยกเว้นล่าสุดที่เว็บไซด์ EU เพื่อความมั่นใจ

คำตอบ (เก่า) สำหรับ RoHS V1

- เครื่องชั่งน้ำหนักอาจได้รับการยกเว้นหาตีความได้ว่าเป็นสินค้าที่อยู่ในกลุ่มที่ 9: "Monitoring and control instruments" ได้

- ระเบียบ RoHS ในปัจจุบัน ไม่ครอบคลุมสินค้าในกลุ่มที่ 8 (เครื่องมือแพทย์) และ 9 (เครื่องมือวัดและควบคุม) ตามภาคผนวก 1B ของระเบียบ WEEE ระบุตัวอย่างของสินค้าในกลุ่มที่ 9 ที่ระบุถึง "Measuring, weighing or adjusting appliances for household or as laboratory equipment" ดังนั้นเครื่องชั่งน้ำหนักอาจจัดอยู่ในกลุ่มนี้ได้

- อย่างไรก็ดี UK (http://www.rohs.gov.uk/FAQs.aspx) ได้แปลความหมายและให้ความคิดเห็น (ซึ่งดูแล้วแตกต่างจากที่ระบุในภาคผนวก 1B) ดังนี้

  • เครื่องชั่งน้ำหนักที่ใช้ตามบ้านเรือน (เช่นในครัว และในห้องน้ำ) อยู่ใต้ขอบเขตของระเบียบ RoHS (ซึ่งค่อนข้างขัดกับที่ระบุใน ภาคผนวก 1B)
  • เครื่องชั่งแบบ Stand alone หรือ เครื่องมือ/เครื่องจักร ที่มีหน้าที่หลักเพื่อชั่งน้ำหนัก สำหรับใช้ในเชิงพานิช ในสถานะ "มืออาชีพ" จัดอยู่ในกลุ่ม 9 ซึ่งได้รับการยกเว้น
  • เครื่องมือวัดที่เป็นส่วนหนึ่งขอวระบบที่ใหญ่ขึ้น ซึ่งระบบนั้นใช้ทำงานหลักอย่างอื่นที่ไม่ใช่การวัด และระบบนั้นอยู่ใต้อื่น (เช่น EPOS (Electronic point of scale - เช่นเครื่องชั่งที่หน้าแคชเชียร์ตามซุปเปอร์มาร์เกตขนาดใหญ่) จัดอยู่ในหมวด IT and data control equipment) ซึ่งอยู่ใต้ขอบเขตของระเบียบ RoHS
  • เครื่องชั่งสำหรับการแพทย์ จัดอยู่ในกลุ่ม 8 ซึ่งได้รับการยกเว้น

- ก่อนอื่นต้องเข้าใจก่อนว่า การยกเว้นของ EU เป็นการให้ยกเว้นตามการใช้งานของสารต้องห้าม มิใช่การยกเว้นให้สำหรับผลิตภัณฑ์ใดผลิตภัณฑ์หนึ่ง หรือให้กับอุตสาหกรรมใดอุตสาหกรรมหนึ่ง

- Server และ Network Infrastructure เข้าข่ายเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ตามความหมายของ WEEE และ RoHS จึงต้องปฏิบัติตามข้อบังคับเหล่านั้น

- อย่างไรก็ดี ในข้อยกเว้น ข้อ 7 - รายการที่ 3: "ตะกั่วบัดกรีใน เครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย หน่วยเก็บข้อมูล และชุดเก็บข้อมูล ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ใช้สำหรับสวิทซ์ชิ่ง ให้สัญญาณ ส่งผ่านข้อมูล รวมถึงการบริหารเครือข่ายในการสื่อสาร" - อนุญาตให้มีตะกั่วในผลิตภัณฑ์เหล่านี้ได้ แต่ ต้องเป็นตะกั่วสำหรับงานบัดกรีเท่านั้น!! ไม่ใช่ตะกั่วที่ใช้ในงานอื่น และไม่ได้ยกเว้นสารต้องห้ามรายการอื่น เช่นแคดเมียม โครเมียมเฮกซะวาเลนซ์ ปรอท PBB และ PBDE

- ข้อยกเว้นในข้ออื่นๆ ก็มีลักษณะเช่นเดียวกัน คือ เฉพาะการใช้งานตามที่ระบุ เฉพาะสารที่ระบุให้ยกเว้น และในสินค้าที่ระบุเท่านั้น 

-ThaiRoHS- 

"อยากทราบรายการข้อยกเว้นทั้งหมดที่มี"

 ตอบ: 

- ตรวจสอบรายการข้อยกเว้นล่าสุดได้ที่ "Exemption List-1" 

- โปรดเข้าใจว่า ข้อยกเว้นในระเบียบ RoHS ไม่ได้ยกเว้นแบบ "ชั่วนิจนิรันดร์กาล" ข้อยกเว้นทุกข้อมีอายุไม่เกิน 4 ปี (ยกเว้นจะระบุเป็นอย่างอื่น) เมื่อใกล้ครบกำหนด คณะกรรมาธิการสหภาพยุโรป มีหน้าที่ต้องนำข้อยกเว้นเหล่านี้มาพิจารณาใหม่ ที่สำคัญคือ ปัจจุบันมีผู้ประกอบการทั่วโลกยื่นคำร้องขอให้อียูถอนข้อยกเว้นบางรายการออก พร้อมให้หลักฐานและผลการทดสอบมากมาย (เนื่องจากตนเองสามารถผลิตได้ (และอาจจะมีคนอื่นอีกมากที่ผลิตไม่ได้ ซึ่งจะทำให้ได้เปรียบมาก)) และมีข้อเสนอหลายรายการที่ที่ปรึกษาของคณะกรรมาธิการที่ำเป็นผู้สอบสวนเรื่องนี้ ก็เห็นด้วย จึงเป็นไปได้ว่า หลังปี 2010 จะมีการถอนข้อยกเว้นออกหลายรายการ

-ThaiRoHS- 

"ผมส่งสินค้าให้หน่วยงานทางการทหาร ไม่ทราบว่าสินค้าได้รับยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตาม RoHS หรือไม่?"

ตอบ: ระเบียบ WEEE/RoHS ไม่ใช้กับอาวุธยุทธโธปกรณ์

- ตรงนี้การตีความจะเป็นลักษณะเดียวกับสินค้าอื่น (เช่นวิทยุติดรถยนต์) ซึ่งจะดูที่วัตถุประสงค์หลัก หากสินค้านั้นออกแบบเฉพาะสำหรับใช้ในการทหารและหาซื้อที่ไหนไม่ได้ ก็ถือว่าได้รับการยกเว้น แต่ ยกตัวอย่างเช่น วิทยุ เครื่องคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ ที่ส่งขายให้ทหาร แต่ประชาชนทั่วไปก็สามารถหามาใช้ได้ ก็ไม่ถือว่าเป็นสินค้าเพื่อการทหารและไม่อยู่ในข่ายที่ได้รับการยกเว้น

-ThaiRoHS- 

ระเบียบ RoHS ครอบคลุมเฉพาะตัวผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ จริงอยู่ที่การค้าขายสินค้า ก็มักจะต้องไปพร้อมๆ กับตัวบรรจุภัณฑ์ แต่กฎหมายฉบับนี้ไม่ครอบคลุมตัวบรรจุภัณฑ์ แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่าจะไม่ต้องสนใจ/ดูแลความสอดคล้องของบรรจุภัณฑ์ต่อข้อกำหนดด้านสารเคมี ฯลฯ บรรจุภัณฑ์มีกฎหมายควบคุมต่างๆ หากที่เข้มงวดกว่า RoHS จึงดูแล/จัดการความสอดคล้องแบบเดียวกันกับที่ใช้กับ RoHS ไม่ได้

RoHS เป็นกฎหมายฉบับแรกๆ ที่ควบคุมการใช้สารอันตรายบางชนิดในผลิตภัณฑ์ กฎหมายนี้คุมลึกไปถึงระดับที่เรียกว่า "วัสดุเนื้อเดียว" นั่นคือวัสดุทุกเนื้อ ทุกชิ้น ต้องสอดคล้องกับข้อกำหนดของ RoHS แต่กฎหมายฉบับนี้ มีผลบังคับใช้กับสินค้าประเภทเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เท่านั้น 

กฎหมายนี้มีผลบังคับใช้มากว่า 10 ปี 

Latest Forum

  • ไม่มีกระทู้แสดง

Who's Online

มี 93 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์

© 2023 ThaiRoHS.org. All Rights Reserved.